หลักการวิเคราะห์ SWOT
หลักการวิเคราะห์ SWOT
คำว่า SWOT ย่อมาจาก
S = Strengths แปลว่า จุดแข็ง
W = Weakness แปลว่า จุดอ่อน
O = Opportunity แปลว่า โอกาส
T = Threat แปลว่า อุปสรรค จุดแข็งและจุดอ่อน เป็นสิ่งที่ปรากฏในกิจการของเราเป็นปัจจัยภายในกิจการเราเอง เราสามารถควบคุมได้ การเปลี่ยนไปของปัจจัยภายในเราสามารถควบคุมได้ เช่น ชื่อเสียงของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง สถานภาพทางด้านการเงิน ความสามารถของผู้บริหาร ถ้าเป็นข้อดีคือจุดแข็งข้อเสียคืออุปสรรค ซึ่งเวลาเขียนจะต้องแสดงจุดแข็งให้เห็นเด่นชัดจุดอ่อนที่มีแนวทางป้องกันได้ โดยไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายกับกิจการมากนักแต่ถ้าเป็น ปัจจัยภายนอก เราไม่สามารถควบคุมได้ เช่น คู่แข่ง การเมืองและกฎหมาย กระแสแฟชั่นสังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี ข้อดีเราเรียกว่าโอกาส ส่วนข้อเสียเราเรียกว่า อุปสรรค สำหรับสภาพแวดล้อมภายนอกนั้นผู้ประกอบการ สามารถตรวจสอบก่อนลงมือเขียนแผนธุรกิจได้โดยตรวจสอบสภาพแวดล้อมโดยรวมทั่วไปก่อนกล่าวคือ สิ่งที่กระทบโดยตรงต่อกิจการเช่นรัฐบาล ชุมชน ผู้ส่งวัตถุดิบให้กิจการ คู่แข่งขัน ลูกค้า เจ้าหนี้ ลูกจ้าง สมาคมการค้า
สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจ ประกอบด้วย ฝ่ายต่าง ๆ ในสังคมที่มีอิทธิพลเหนือพฤติกรรมตนและองค์การ ถ้าสิ่งแวดล้อมเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปก็มีผลทำให้คนและองค์การเปลี่ยนแปลงไปด้วย เป็นสิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่องค์การธุรกิจจะต้องติดตามและปรับตัวให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อการอยู่รอด และเจริญก้าวหน้าขององค์การต่อไป สภาพแวดล้อมภายนอกเหล่านี้ ได้แก่
1.1 สภาพแวดล้อมทางกฎหมาย สำหรับกฎหมายจะมีบทบาทต่อธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมนั้น เริ่มตั้งแต่เราได้มีการตัดสินใจว่าจะประกอบธุรกิจอะไร ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมต้องศึกษารายละเอียดของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนั้น ซึ่งสำนักงานกฎหมายจะมีนักกฎหมายสามารถให้คำแนะนำชี้แนะให้ผู้ประกอบการค้าปลีกขนาดย่อมทราบถึงรายละเอียดในการที่จะประกอบธุรกิจประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขออนุญาตจัดตั้งและการดำเนินการรวมทั้ง การวางแผนทางด้านภาษีอากรตลอดจน การขอสิทธิและประโยชน์ตามกฎหมาย เป็นต้นว่า การขอเครื่องหมายการค้า (Trademark) ลิขสิทธิ์ (Copyright) สิทธิบัตร(Patent) การทำธุรกรรมใด ๆ ที่เกี่ยวข้องนั้นก็ต้องมีการทำสัญญาโดยทั่วไปแล้วจะมีพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับกับการทำธุรกรรมธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมเช่น
- พระราชบัญญัติกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ. 2522
- พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2533
สรุปได้ว่าบทบาทของกฎหมายนั้นมีต่อธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมนั้น ได้เริ่มต้นตั้งแต่ก่อนการจัดตั้งธุรกิจ ระหว่างธุรกิจกำลังดำเนินอยู่จนกระทั่งธุรกิจนั้นปิดกิจการลง
1.2 สภาพแวดล้อมทางการเมือง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ไม่ว่าจะเปลี่ยนรัฐบาลหรือหารเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองใหม่ย่อมมีผลกระทบต่อธุรกิจ รัฐบาลแต่ละรัฐบาลย่อมกำหนดนโยบายที่แตกต่างกันไป บางรัฐบาลอาจนโยบายสนับสนุนธุรกิจขนาดย่อมผลกระทบย่อมเกิดกับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งขาดการสนับสนุนจากรัฐบาล ยิ่งถ้ามีการเปลี่ยนระบบการเมือง การปกครอง จากระบบประชาธิปไตยมาเป็นเผด็จการ ธุรกิจเอกชนอาจถึงกับถูกยัดเป็นของรัฐหรือต้องล้มเลิกกิจการไป
- See more at: http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=1173&pageid=10&read=true&count=true#sthash.09ObSnGw.dpuf
No comments:
Post a Comment