วัตถุประสงค์ในการจัดทำแผนธุรกิจ
วัตถุประสงค์ในการจัดทำแผนธุรกิจ
1. เพื่อเตรียมพร้อมในการดำเนินงาน
2. เพื่อเป็นแนวทางธุรกิจให้ผู้กู้ หรือ ผู้ร่วมทุนสามารถขอกู้เงิน หรือระดมทุนมาลงทุนเพื่อประกอบธุรกิจที่ต้องการจะทำ
3. เพื่อลดความเสี่ยงในการดำเนินการธุรกิจอค้าปลีกขนาดย่อมเพราะ เป็นการวางแผนล่วงหน้าออกมาในรูปของการจัดทำแผนธุรกิจ และมีแผนสำรองเพื่อลดความเสี่ยงทางธุรกิจที่เกิดจากปัจจัยภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้
4. เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมมีการลำดับความคิด การเตรียมความพร้อมเพื่อเริ่มประกอบการค้าปลีกขนาดย่อม
ธนาคารและสถาบันการเงินจะพิจารณาแผนธุรกิจของผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อม ที่เสนอ เพื่อตัดสินใจว่าจะให้การสนับสนุนด้านแหล่งเงินทุน แผนธุรกิจจะเป็นเสมือนเครื่องมือในการสื่อความหมายว่าผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมมีความตั้งใจและ ต้องการความสำเร็จในการดำเนินการ ดังนั้นการเขียนแผนธุรกิจควรมีหลักเกณฑ์พื้นฐานของการจัดทำแผนธุรกิจ โดยยึดรูปแบบสากล นอกจากนี้ แผนธุรกิจจะแสดงวิธีการสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย
อนึ่งในการเขียนแผนธุรกิจ ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมต้องตระหนักอยู่เสมอว่า เมื่อเขียนแผนธุรกิจเสร็จ แผนดังกล่าวจะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับธนาคารและสถาบันการเงิน รวมทั้งผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับธุรกิจ ให้มีความรู้สึกว่าผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมจะประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนโดยมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอเพื่อเตรียมรับกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอกที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจโดยไม่คาดคิดมาก่อน ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมทำได้โดยวิเคราะห์อุปสงค์ที่อาจเปลี่ยนแปลงความยืดหยุ่นอันเนื่องมาจากปัจจัยภายนอก เช่น มีสินค้าทดแทนเกิดขึ้น รสนิยม พฤติกรรมการบริโภคของลูกค้า จะต้องทำการวิจัยหาความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา ในปัจจุบันมีหน่วยงานของรัฐคอยให้การสนับสนุนข้อมูลต่างๆ โดยไม่ต้องทำการวิจัยทำให้ผู้ประกอบการค้าปลีกขนาดย่อมประหยัดเรื่องค่าใช้จ่ายเรื่องนี้ได้อีกด้วย
- See more at: http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?pageid=3&bookID=1173&read=true&count=true#sthash.zK6SQZD0.dpuf
อนึ่งในการเขียนแผนธุรกิจ ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมต้องตระหนักอยู่เสมอว่า เมื่อเขียนแผนธุรกิจเสร็จ แผนดังกล่าวจะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับธนาคารและสถาบันการเงิน รวมทั้งผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับธุรกิจ ให้มีความรู้สึกว่าผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมจะประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนโดยมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอเพื่อเตรียมรับกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอกที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจโดยไม่คาดคิดมาก่อน ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมทำได้โดยวิเคราะห์อุปสงค์ที่อาจเปลี่ยนแปลงความยืดหยุ่นอันเนื่องมาจากปัจจัยภายนอก เช่น มีสินค้าทดแทนเกิดขึ้น รสนิยม พฤติกรรมการบริโภคของลูกค้า จะต้องทำการวิจัยหาความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา ในปัจจุบันมีหน่วยงานของรัฐคอยให้การสนับสนุนข้อมูลต่างๆ โดยไม่ต้องทำการวิจัยทำให้ผู้ประกอบการค้าปลีกขนาดย่อมประหยัดเรื่องค่าใช้จ่ายเรื่องนี้ได้อีกด้วย
No comments:
Post a Comment