Saturday, May 31, 2014

ธุรกิจ : ความแตกต่างที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับSWOT

ธุรกิจ : ความแตกต่างที่มักเข้าใจผิดเกี่ยวกับSWOT

                   จากประสบการณ์ของผู้เขียนที่เคยเป็นอาจารย์ในระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาพบว่า  การวิเคราะห์ SWOT  นั้นผู้เรียนหรือผู้ที่เริ่มต้นเขียนแผนธุรกิจมักจะแยกไม่ออก  และเกิดการผสมผสานปนเปไประหว่าง จุดแข็ง  และโอกาส   จุดอ่อนและอุปสรรค    ไม่สามารถแยกแยะว่า  อะไรคือคือปัจจัยภายใน  และอะไรคือปัจจัยภายนอก   กล่าวคือ
                      มักเขียนว่า จุดแข็ง   รัฐบาลให้เงินสนับสนุน   มีคู่แข่งน้อยรายในตลาด    ซึ่งทั้งสองอย่างที่ว่านี้  คือ  โอกาส  ข้อแตกต่างที่คิดง่าย ๆ ระหว่างจุดแข็งและโอกาสคือ   จุดแข็งเป็นเรื่องภายในที่เราสามารถควบคุมให้มันเป็นไปตามที่เราคาดคิดได้   และอยู่เป็นเรื่องภายในกิจการของเราเอง  มันเกิดจากคนในกิจการเองทั้งนั้น  แต่โอกาสคือ   สิ่งที่เราควบคุมไม่ได้  สิ่งที่เราไม่สามารถทำตามที่เราคาดคิดได้  นอกเหนือความสามารถที่กิจการจะควบคุมมันได้  แต่บังเอิญว่าส่งผลดีกับกิจการเรา เราจึงเรียกว่าโอกาส    ในทางตรงกันข้าม    เรื่องภายในที่เราสามารถควบคุมให้มันเป็นไปตามที่เราคาดคิดได้   และอยู่เป็นเรื่องภายในกิจการของเราเอง  มันเกิดจากคนในกิจการเองแต่เกิดผลเสียต่อกิจการเรา  เราเรียกมันว่า  จุดอ่อน     และ  สิ่งที่เราควบคุมไม่ได้  สิ่งที่เราไม่สามารถทำตามที่เราคาดคิดได้  นอกเหนือความสามารถที่กิจการจะควบคุมมันได้  แต่บังเอิญว่าส่งผลเสียกับกิจการเรา เราจึงเรียกว่า อุปสรรค     
                    ดังนั้นเมื่อเขียนจะต้องแยกประเด็นให้ดี  
                     อนึ่งนักศึกษาระดับปริญญาตรี  ขึ้นไป  ถ้าทำกรณีศึกษา   ควรพิจารณาด้วยว่าเรื่องใน  กรณีศึกษาได้ระบุไว้ในเนื้อเรื่องด้วยหรือเปล่า  อย่าเอาประเด็นที่เราคิดเองลงไปโดยเด็ดขาดเพราะจะเสียคะแนน   ได้     
                      ตัวอย่างจุดแข็ง    เช่น  ผู้บริหารมีฐานะการเงินที่ดี    กิจการมีความแข็งแกร่งด้านการเงิน   สินค้าเป็นที่ต้องการของตลาด  สินค้ามีความแตกต่าง จากคู่แข่ง  สามารถสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันได้    มีหีบห่อที่สวยงาม  ราคาถูก   มีการทำการโฆษณาอย่างต่อเนื่อง  ใช้อินเตอร์เน็ต  โฆษณาสามารถเขาถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดี  มีช่องทางการจัดจำหน่ายหลายช่องทาง   มีแผนการผลิต  การจัดการที่เป็นระบบ   จุดอ่อน  คือตรงข้ามกัน   คิดง่าย ๆ  
                     โอกาส  เช่น     รัฐบาลให้เงินสนับสนุน   มีคู่แข่งน้อยรายในตลาด    กฎหมายรองรับ  มีระเบียบข้อบังคับที่ส่งผลดีต่อการดำเนินธุรกิจ  ชุมชนให้การสนับสนุน  และประหยัดภาษี  เป็นต้น  ส่วนอุปสรรค  คือตรงกันข้ามคิดง่าย ๆ        
- See more at: http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=1173&pageid=12&read=true&count=true#sthash.xlZxdbOr.dpuf

ธุรกิจ : หลักการวิเคราะห์ SWOT (ต่อ)

ธุรกิจ : หลักการวิเคราะห์ SWOT (ต่อ)

               1.3 สภาพแวดล้อมทางด้านผู้บริโภค ซึ่งมีหลายประการ เช่น อุปทาน ค่านิยม  แฟชั่น ระดับการศึกษา รสนิยม และทัศนคติ ฯลฯ เปลี่ยนแปลงไปย่อมมีผลกระทบต่อธุรกิจในทางที่ดีขึ้นหรื่ออาจแย่ลงก็ได้ เช่น เมื่อผู้บริโภคมีความรู้และรายได้สูงขึ้นย่อมเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพดีมีประโยชน์าต่อสุขภาพมากขึ้น ค่านิยมและทัศนคติของบุคคลย่อมมีผลต่อการประเมินผลิตภัณฑ์ และบริการต่าง ๆ ว่าชอบหรือไม่ชอบ ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค
              1.4 สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาซึ่งเราเรียกว่า วัฏจักรของเศรษฐกิจ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ระยะด้วยกัน คือ
                  1.4.1 ระยะเจริญรุ่งเรือง (Prosperity)
                  1.4.2 ระยะเสื่อมโทรม (Recession)
                  1.4.3 ระยะตกต่ำ (Depression)
                  1.4.4 ระยะฟื้นฟู (Recovery)
              1.5  สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี   ยุคแห่งความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบันล้วนเป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น  ทั้งนี้เพื่ออำนวยความสะดวกความสบายให้แก่มวลมนุษย์  นักวิจัยและนักการตลาดพยายามค้นหาความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่องเพราะ  ความต้องการของลูกค้ามีการเปลี่ยนไปอยู่ลอดเวลา  จะต้องหาช่องว่างของตลาดและเติมเต็มส่วนที่ขาดหายไปให้ได้โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างรวดเร็ว  ตรงเวลา  และมีประสิทธิภาพคุ้มค่าต่อการลงทุน  ผู้ประกอบการต้องศึกษารายละเอียดของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนั้น  ซึ่งสามารถขอคำแนะนำชี้แนะจากหน่วยงานที่ให้คำปรึกษาเพื่อทราบถึงรายละเอียดในการที่จะใช้เทคโนโลยีในประกอบธุรกิจหลังจากที่ทำการวิจัยอย่างต่อเนื่องแล้ว  การเขียนแผนธุรกิจควรกล่าวถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมประสบอยู่ว่ามีผลอย่างไรต่อธุรกิจของตนอย่างตรงไปตรงมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  การดำเนินการด้านเทคโนโลยีของธุรกิจค้าปลีกของตนตั้งแต่อดีตรวมทั้ง การวางแผนการจัดหาเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่องในอนาคต  อย่างไรก็ตามในการประกอบธุรกิจปัจจุบันจะต้องตระหนักเรื่องเทคโนโลยี  ดังคำกล่าวที่ว่า
                          “บุคคลใดสามารถครองเทคโนโลยีได้  บุคคลนั้นย่อมครองตลาด”  
                     1.6 สภาพแวดล้อมทางสังคม ประเพณี วัฒนธรรม สำหรับสภาพแวดล้อมเรื่องนี้ย่อมมีผลกระทบต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของธุรกิจได้ เช่น ธุรกิจที่ทำการผลิตสินค้าที่ขัดต่อความเชื่อในทางศาสนาของผู้คนในสังคม ลูกค้าจะไม่นิยมใช้ก็ต้องเลิกกิจการไปในที่สุด ตรงกันข้ามกับธุรกิจที่ผลิตสินค้าได้มาตรฐาน และตรงกับความต้องการของลูกค้า ก็จะอยู่รอด อยู่ได้ และเจริญก้าวหน้าต่อไป
                      1.7 สภาพแวดล้อมทางคู่แข่งขัน ในระบบเศรษฐกิจแบบเสรี ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้า บริการ หรือการจัดจำหน่าย จะต้องมีการแข่งขันกันตลอดเวลา เพื่อความเจริญก้าวหน้าของธุรกิจของตน การเขียนแผนธุรกิจควรกล่าวถึงแผนกลยุทธ์ตลอดจนยุทธวิธีสำหรับแข่งขันกับคู่แข่ง  ฉะนั้นผู้ประกอบจงตระหนักอยู่เสมอว่า การแข่งขันจะกำจัดธุรกิจที่อ่อนแอออกไปจากระบบธุรกิจ ธุรกิจที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ควบคู่กันไปกับการบริการที่ดีอยู่เสมอ รวมทั้งรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมและประพฤติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจ ใส่ใจต่อความต้องการของลูกค้าจะได้รับความเชื่อถือยกย่องเป็นที่ยอมรับของสังคมและสามารถดำเนินกิจการให้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้
- See more at: http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=1173&pageid=11&read=true&count=true#sthash.SNxZhEwr.dpuf

ธุรกิจ : หลักการวิเคราะห์ SWOT

หลักการวิเคราะห์ SWOT

หลักการวิเคราะห์  SWOT     
                    คำว่า  SWOT   ย่อมาจาก
  S    =  Strengths          แปลว่า      จุดแข็ง
  W  =   Weakness        แปลว่า      จุดอ่อน
   O  =   Opportunity    แปลว่า      โอกาส 
  T   =    Threat                แปลว่า      อุปสรรค                 จุดแข็งและจุดอ่อน   เป็นสิ่งที่ปรากฏในกิจการของเราเป็นปัจจัยภายในกิจการเราเอง   เราสามารถควบคุมได้     การเปลี่ยนไปของปัจจัยภายในเราสามารถควบคุมได้    เช่น ชื่อเสียงของธุรกิจ ทำเลที่ตั้ง  สถานภาพทางด้านการเงิน   ความสามารถของผู้บริหาร    ถ้าเป็นข้อดีคือจุดแข็งข้อเสียคืออุปสรรค   ซึ่งเวลาเขียนจะต้องแสดงจุดแข็งให้เห็นเด่นชัดจุดอ่อนที่มีแนวทางป้องกันได้  โดยไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายกับกิจการมากนักแต่ถ้าเป็น  ปัจจัยภายนอก  เราไม่สามารถควบคุมได้  เช่น  คู่แข่ง  การเมืองและกฎหมาย  กระแสแฟชั่นสังคม   เศรษฐกิจ  เทคโนโลยี  ข้อดีเราเรียกว่าโอกาส  ส่วนข้อเสียเราเรียกว่า  อุปสรรค                           สำหรับสภาพแวดล้อมภายนอกนั้นผู้ประกอบการ   สามารถตรวจสอบก่อนลงมือเขียนแผนธุรกิจได้โดยตรวจสอบสภาพแวดล้อมโดยรวมทั่วไปก่อนกล่าวคือ   สิ่งที่กระทบโดยตรงต่อกิจการเช่นรัฐบาล ชุมชน  ผู้ส่งวัตถุดิบให้กิจการ  คู่แข่งขัน  ลูกค้า  เจ้าหนี้  ลูกจ้าง  สมาคมการค้า                           
                              
สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจ ประกอบด้วย ฝ่ายต่าง ๆ ในสังคมที่มีอิทธิพลเหนือพฤติกรรมตนและองค์การ ถ้าสิ่งแวดล้อมเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปก็มีผลทำให้คนและองค์การเปลี่ยนแปลงไปด้วย เป็นสิ่งแวดล้อมที่ไม่สามารถควบคุมได้ แต่องค์การธุรกิจจะต้องติดตามและปรับตัวให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลง เพื่อการอยู่รอด และเจริญก้าวหน้าขององค์การต่อไป สภาพแวดล้อมภายนอกเหล่านี้ ได้แก่   
                   1.1 สภาพแวดล้อมทางกฎหมาย  สำหรับกฎหมายจะมีบทบาทต่อธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมนั้น เริ่มตั้งแต่เราได้มีการตัดสินใจว่าจะประกอบธุรกิจอะไร  ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมต้องศึกษารายละเอียดของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนั้น  ซึ่งสำนักงานกฎหมายจะมีนักกฎหมายสามารถให้คำแนะนำชี้แนะให้ผู้ประกอบการค้าปลีกขนาดย่อมทราบถึงรายละเอียดในการที่จะประกอบธุรกิจประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่ง  การขออนุญาตจัดตั้งและการดำเนินการรวมทั้ง การวางแผนทางด้านภาษีอากรตลอดจน  การขอสิทธิและประโยชน์ตามกฎหมาย  เป็นต้นว่า การขอเครื่องหมายการค้า (Trademark) ลิขสิทธิ์ (Copyright) สิทธิบัตร(Patent) การทำธุรกรรมใด  ๆ ที่เกี่ยวข้องนั้นก็ต้องมีการทำสัญญาโดยทั่วไปแล้วจะมีพระราชบัญญัติที่เกี่ยวกับกับการทำธุรกรรมธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมเช่น 
          -  พระราชบัญญัติกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.. 2522 
          -  พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.. 2533
                       สรุปได้ว่าบทบาทของกฎหมายนั้นมีต่อธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมนั้น ได้เริ่มต้นตั้งแต่ก่อนการจัดตั้งธุรกิจ  ระหว่างธุรกิจกำลังดำเนินอยู่จนกระทั่งธุรกิจนั้นปิดกิจการลง
                1.2 สภาพแวดล้อมทางการเมือง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ไม่ว่าจะเปลี่ยนรัฐบาลหรือหารเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองใหม่ย่อมมีผลกระทบต่อธุรกิจ รัฐบาลแต่ละรัฐบาลย่อมกำหนดนโยบายที่แตกต่างกันไป บางรัฐบาลอาจนโยบายสนับสนุนธุรกิจขนาดย่อมผลกระทบย่อมเกิดกับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งขาดการสนับสนุนจากรัฐบาล ยิ่งถ้ามีการเปลี่ยนระบบการเมือง การปกครอง จากระบบประชาธิปไตยมาเป็นเผด็จการ ธุรกิจเอกชนอาจถึงกับถูกยัดเป็นของรัฐหรือต้องล้มเลิกกิจการไป
- See more at: http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=1173&pageid=10&read=true&count=true#sthash.09ObSnGw.dpuf

ธุรกิจ : ประวัติความเป็นมา (Company Summary)

ธุรกิจ : ประวัติความเป็นมา (Company Summary)

ประวัติการจัดตั้งทุนของกิจการ และประวัติการเพิ่มทุนของผู้ถือหุ้น      ลักษณะของธุรกิจ
 · การดําเนินธุรกิจประเภทสินค้าและบริการมีอะไรบ้าง กําลังการผลิต ยอดขาย
  · สถานที่ตั้งสํานักงาน สินทรัพยถาวรมีอะไรบ้าง เช่น ที่ดิน อาคารสิ่งปลูกสร้าง และเครื่องจักร
3. การวิเคราะหสถานการณ (SWOT Analysis)
               การกล่าวถึงสภาพแวดล้อมของกิจการเป็นการอธิบายถึง  สถานการณ์ที่กิจการกำลังประสบอยู่ในปัจจุบันและสามารถคาดการณ์ถึงในอนาคตซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ที่สถาบันการเงินที่เป็นแหล่งเงินกู้ต้องการทราบอย่างละเอียดเพื่อวิเคราะห์ขีดความสามารถทางการแข่งขันของกิจการ เมื่อเทียบกับคู่แข่งขันมีความรุนแรงเพียงใดมีความได้เปรียบคู่แข่งขันหรือไม่
               การเขียนวิเคราะห์สถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมทางธุรกิจนั้นสามารถเขียนวิเคราะห์ออกมาโดยใช้การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม เรียกว่า SWOT Analysis   ซึ่งประกอบไปด้วย
  การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน
       สำหรับปัจจัยภายในเป็นปัจจัยที่ผู้ประกอบธุรกิจสามารถควบคุมได้ เช่น ชื่อเสียงของธุรกิจ  ทำเล
 ที่ตั้ง  สถานภาพทางด้านการเงิน   ความสามารถของผู้บริหาร   
  การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก
               ส่วนปัจจัยภายนอกคือปัจจัยที่ผู้ประกอบธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้ เช่น  คู่แข่ง  การเมืองและกฎหมาย  กระแสแฟชั่นสังคม   เศรษฐกิจ   ผลลัพธจากการวิเคราะห์สถานการณจะช่วยให้ทราบถึงความเป็นไปไดและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของการดําเนินธุรกิจที่เป็นประโยชนในการกําหนดกลยุทธ์ด้านต่างๆ ของกิจการ
              สำหรับสภาพแวดล้อมภายนอกนั้นผู้บริหารกิจค้าปลีกขนาดย่อม   สามารถตรวจสอบก่อนลงมือเขียนแผนธุรกิจได้โดยตรวจสอบสภาพแวดล้อมโดยรวมทั่วไปก่อนกล่าวคือ   สิ่งที่กระทบโดยตรงต่อกิจการเช่นรัฐบาล ชุมชน  ผู้ส่งวัตถุดิบให้กิจการ  คู่แข่งขัน  ลูกค้า  เจ้าหนี้  ลูกจ้าง  สมาคมการค้า
- See more at: http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=1173&pageid=9&read=true&count=true#sthash.D7ie7EOB.dpuf

ธุรกิจ : การเขียนบทสรุปผู้บริหารที่ทำให้น่าสนใจ

ธุรกิจ : การเขียนบทสรุปผู้บริหารที่ทำให้น่าสนใจ


การเขียนบทสรุปผู้บริหารที่ทำให้น่าสนใจ
        การเขียนควรที่จะระบุให้ชัดเจนตรงไปตรงมา  ไม่วกวน  สรุป  ระบุ  รายละเอียด  แต่ละหัวข้อ  เช่น
        
ธุรกิจที่จะทําเป็นธุรกิจอะไรและมีแนวทางในการริเริ่มดำเนินการอย่างไร        ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชา   เป็นธุรกิจประเภทบริการ    สามารถช่วยลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย  ในที่นี้คือ  นักเรียนที่เตรียมตัวสอบเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย    และเรียนพิเศษเพื่อเพิ่ม    ระดับ  GPA   ในชั้นเรียน     ถ้าโรงเรียนมีการใช้เทคโนโลยีเช่น  มีการสอนระบบทีวี  อินเตอร์แอคทีฟ    หรือ  ระบบการสอนผ่านคอมพิวเตอร์ที่สามารถอ่านย้อนหลังได้   และสามารถทบทวนบทเรียนได้    อาจตั้งราคาที่แพงกว่าแต่  มีคุณค่าที่ดีกว่า   และมีดีเหนือคู่แข่ง      มีความน่าเชื่อถือ  เรียกศรัทธาจากนักเรียนได้   ถ้ามีอาจารย์ที่มีชื่อเสียงเป็นผู้สอน  
        มีโอกาส  และอุปสรรค      
  โอกาส  คือสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่โรงเรียน  เวลาเขียต้องแยกให้ออก  ว่า   เป็นสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้  แต่บังเอิญเป็นผลดี  กับโรงเรียนกวดวิชา  เช่น  การให้น้ำหนัก  GPA   ในการเข้าเรียนในคณะที่ต้องการ   การเพิ่มคะแนนสอบ  วิชาสังคมอีก  50 คะแนน  ทำให้นักเรียนมีความสนใจจะเรียนวิชสสังคม   มากขึ้น  โรงเรียนสามารถเปิดสอนในวิชาสังคมได้อีก  1  วิชา  เหมือน  คณิตศาสตร์    ฟิสิกส์   เป็นต้น    
       ส่วนอุปสรรคนั้น  มักเกิดจากสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้  เช่น กฎหมาย  การเมือง  ส่วนมากแล้วมักจะไม่เอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจที่ผิดต่อศีลธรรมอันดี  และจารีตประเพณี วัฒนธรรม    ที่สำคัญที่สุดอุปสรรค  เป็นตัวขัดขวางการทำงาน  โดยมากแล้ว อุปสรรคโรงเรียนกวดวิชา    มักเป็นเรื่องการเก็บภาษี   การขอเข้ามาควบคุมของกระทรวงศึกษา 
       ปัจจัยอะไรที่ทำให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จ ( Key  Success  factor )   อะไรที่ทำให้เราประสบความสำเร็จ   ถ้าขาดสิ่งนี้ไปธุรกิจจะไปลำบาก    ระบุให้ชัดเจน   ส่วนโรงเรียนกวดวิชาคือ    อาจารย์ผู้สอนนั่นเอง
        ทีมผู้บริหาร สรุปความรู้ความสามารถ วุฒิการศึกษา  ประสบการณ์ของผู้บริหารหรือเจ้าของธุรกิจและทักษะของผู้ที่เป็นตัวหลักในการก่อตั้งและบริหารสำหรับในกรณีที่มีหุ้นส่วน พร้อมสมาชิกในทีมกล่าวถึงความสำเร็จในอดีตโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการทำกำไร การบริหารงาน  การจัดการทรัพยากรบุคคล  ตลอดจนความสำเร็จและผลงานของแต่ละท่าน  อนึ่งควรระลึกอยู่เสมอว่าทีมผู้บริหารถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สะท้อนภาพลักษณ์   ของธุรกิจว่ามีความน่าเชื่อ ถือเพียงใด         ระบุเป็นข้อ  ๆ     เพื่อชัดเจน
- See more at: http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=1173&pageid=8&read=true&count=true#sthash.Gtwe6DPs.dpuf

ธุรกิจ : องค์ประกอบของแผนธุรกิจ (ต่อ)

ธุรกิจ : องค์ประกอบของแผนธุรกิจ (ต่อ)

   องค์ประกอบของแผนธุรกิจ (ต่อ)
                ด้านสภาพสังคม เช่นในสังคมไทยเป็นสังคมชาวพุทธ      คนไทยส่วนมากมักจะเข้าวัดทำบุญในวันสารทต่างๆ    หรือเทศกาล เราจึงมีโอกาสในการค้าเครื่องถวายสังฆทาน   ธูป เทียน เป็นต้น
                 ส่วนอุปสรรคนั้น  มักเกิดจากสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้  เช่น กฎหมาย  การเมือง  ส่วนมากแล้วมักจะไม่เอื้อประโยชน์แก่ธุรกิจที่ผิดต่อศีลธรรมอันดี  และจารีตประเพณี วัฒนธรรม    ที่สำคัญที่สุดอุปสรรค  เป็นตัวขัดขวางการทำงานของธุรกิจที่เราดำเนินการอยู่ด้วย
                
ปัจจัยอะไรที่ทำให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จ ( Key  Success  factor )
              โดยทั่วไปธุรกิจค้าปลีกจะมีทำเล  เป็นปัจจัยทำให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จทั้งนี้ยังมีธุรกิจบางประเภท    ประเภทบริการบางชนิด        มีปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จนอกเหนือไปจากทำเลที่ตั้ง  เช่นโรงเรียนกวดวิชาอาศัยปัจจัยทำให้ธุรกิจประสบผลสำเร็จก็คือ  อาจารย์ผู้สอน  นั่นเอง  เวลาเขียนแผนธุรกิจระบุให้ชัดเจนด้วย
                
 ทีมผู้บริหาร สรุปความรู้ความสามารถ วุฒิการศึกษา  ประสบการณ์ของผู้บริหารหรือเจ้าของธุรกิจค้าและทักษะของผู้ที่เป็นตัวหลักในการก่อตั้งและบริหารสำหรับในกรณีที่มีหุ้นส่วน พร้อมสมาชิกในทีมกล่าวถึงความสำเร็จในอดีตโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการทำกำไร การบริหารงาน  การจัดการทรัพยากรบุคคล  ตลอดจนความสำเร็จและผลงานของแต่ละท่าน  อนึ่งควรระลึกอยู่เสมอว่าทีมผู้บริหารถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สะท้อนภาพลักษณ์   ของธุรกิจว่ามีความน่าเชื่อ ถือเพียงใด
    กลุ่มลูกค้าเป้าหมายและการพยากรณ์ลูกค้าที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
              ควรระบุและอธิบายย่อๆ ถึงลักษณะตลาดโดยทั่วไป   ระบุกลุ่มลูกค้าหลักและ  ลูกค้ารอง จะจัดวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (Positioning)  แผนการเข้าถึงลูกค้าได้อย่างไร รวมถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างของตลาด ขนาด ขอบเขตและอัตราการเติบโตของกลุ่มลูกค้า ยอดขาย และส่วนแบ่งตลาดที่คาดหมายอะไรบ้างที่ธุรกิจเราต้องเผชิญและกลยุทธในการดําเนินธุรกิจเป็นอย่างไร
v   ขีดความสามารถด้านการแข่งขันของธุรกิจ (Competitive  Advantages)
              เช่น   ความไดเปรียบจากผลิตภัณฑ์ความได้เปรียบจากการเข้าสู่ตลาดก่อนคู่แข่งขัน ความได้เปรียบจากการที่คู่แข่งขันอยู่ในภาวะอ่อนแอ ตลอดจนเงื่อนไขอื่นๆ ของอุตสาหกรรมนั้นๆ
v   ความสามารถในการทํากําไร  ในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน
               ข้อมูลส่วนนี้อาจนำเสนอในรูปข้อเท็จจริง ด้านสภาพเศรษฐกิจเช่น ปัจจุบันน้ำมันราคาแพงและมีแนวโน้มจะสูงขึ้นอีก เรามีโอกาสในธุรกิจการค้าปลีกรถจักรยาน 
- See more at: http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=1173&pageid=7&read=true&count=true#sthash.dwypH8ST.dpuf

ธุรกิจ : องค์ประกอบของแผนธุรกิจ

ธุรกิจ :องค์ประกอบของแผนธุรกิจ

องค์ประกอบของแผนธุรกิจ
1.       บทสรุปสําหรับผูบริหาร (Executive Summary)
              ส่วนนี้มีความสำคัญมากที่สุด เพราะเป็นส่วนแรกที่ผู้ร่วมลงทุนที่จะอ่านและจะต้องตัดสินใจจากส่วนนี้ว่าจะอ่านรายละเอียดของแผนธุรกิจหรือไม่   บทสรุปสำหรับผู้บริหารเป็นส่วนหนึ่งของแผนธุรกิจที่จัดทำขึ้นหลังจากการทำแผนธุรกิจแล้วเสร็จ    ควรมีความยาวประมาณ  2 -  3  หน้า  ฉะนั้น  ส่วนนี้จะต้องให้ความสำคัญมากที่สุด
               ดังนั้น บทสรุปผู้บริหารจะต้องแสดงให้เห็นประเด็นสำคัญอย่างน้อยสองประการคือ
               1.  
สรุปแนวคิดรายละเอียดของธุรกิจและชี้ให้เห็นว่าสำหรับธุรกิจที่กำลังคิดอยู่นี้จะทำมีโอกาสเกิดขึ้นได้จริงๆ ในตลาด ไม่เพ้อฝัน โดยมีข้อมูล  ที่สนับสนุน และอ้างอิงจากแหล่งที่มาน่าเชื่อถือ   
               2.   ต้องชี้ให้เห็นว่าสินค้าหรือบริการของธุรกิจที่จะทำนั้นมีความแตกต่างและเป็นที่ต้องตาต้องใจของลูกค้า  บทสรุปผู้บริหารจึงต้องเขียนให้เกิดความน่าเชื่อถือ หนักแน่น และชวนให้ติดตามรายละเอียดที่อยู่ในแผนต่อไป ผู้เขียนแผนควรระลึกไว้เสมอว่าคุณภาพของบทสรุปผู้บริหารจะสะท้อนถึงคุณภาพของแผนโดยรวม จึงควรให้เวลากับการเขียนส่วนนี้อย่างพิถีพิถัน 
              ส่วนHOW  TOว่าจะเขียนอย่างไร   ให้น่าสนใจ  มีกลวิธีในการเขียน  
ข้อพิจารณาเพื่อการเขียนบทสรุปผู้บริหาร
          ธุรกิจที่จะทําเป็นธุรกิจอะไรและมีแนวทางในการริเริ่มดำเนินการอย่างไร
              อธิบายว่าจะทำธุรกิจอะไรและแนวคิดของธุรกิจนั้นเป็นอย่างไร  พยายามอธิบายให้เห็นว่าสินค้าหรือบริการที่จะทำนั้นจะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต     คุณภาพชีวิต    รวมทั้งการอำนวยความสะดวกแก่ผู้บริโภค    หรือวิถีการใช้สินค้าหรือบริการไปจากเดิมอย่างไร บอกด้วยว่าธุรกิจจะก่อตั้งเมื่อไรสินค้า/บริการมีคุณสมบัติพิเศษอะไรในแง่รูปลักษณ์ ประโยชน์ใช้สอยเทคโนโลยี นวัตกรรม ฯลฯ        ที่จะได้เปรียบเหนือคู่แข่งและสามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม(Value Add) ขีดความสามารถทางการแข่งขัน (Competitive Advantages) หากธุรกิจดำเนินการมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว และจะต้องกล่าวประวัติความเป็นมาของกิจการที่ดำเนินธุรกิจอยู่ (Company Profile) ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันตลอดจนผู้ก่อตั้ง    ปีที่ก่อตั้ง ทุนจดทะเบียน   ทุนที่ชำระแล้ว รวมทั้งกิจกรรมที่สำคัญเช่นการหาผู้ร่วมลงทุน  การเพิ่มทุน   นอกจากนี้ ควรจะกล่าวถึงขนาดของธุรกิจ   ความก้าวหน้าของธุรกิจในช่วงที่ผ่านมา  เพราะความเติบโตก้าวหน้าจะสะท้อนออกมาในรูปของเงินทุนและความน่าเชื่อถือของผู้ประกอบการที่เพิ่มขึ้นในกรณีที่ไม่ใช่ธุรกิจใหม่                          
          
   มีโอกาส  และอุปสรรคที่เกิดในกาดำเนินธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมนั้นเป็นอย่างไร
              โอกาสคือ  ปัจจัยภายนอกที่ธุรกิจของเราไม่สามารถควบคุมได้แต่กลับส่งผลดีต่อธุรกิจ  โอกาสที่ว่านี้ทำไมจึงส่งผลดี และจะสามารถใช้โอกาสนั้นด้วยวิธีใด  ข้อมูลส่วนนี้อาจนำเสนอในรูปข้อเท็จจริง  ด้านสภาพเศรษฐกิจเช่น ปัจจุบันน้ำมันราคาแพงและมีแนวโน้มจะสูงขึ้นอีก เรามี  โอกาสในธุรกิจการค้าปลีกรถจักรยาน
- See more at: http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=1173&pageid=6&read=true&count=true#sthash.0g1DYYDc.dpuf

ธุรกิจ : ลักษณะของแผนธุรกิจที่ดี

ธุรกิจ : ลักษณะของแผนธุรกิจที่ดี

                           ในการดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจมีหลักการ ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ  และทิศทางการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้  มุ่งเน้นให้ผู้ที่สนใจจะเป็นผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจจะทำธุรกิจค้าปลีก หรืออุตสาหกรรมในครอบครัว ได้มีโอกาสศึกษาทำความเข้าใจลักษณะของแผนธุรกิจและ  การเตรียมตัวก่อนทำธุรกิจ และเป็นแนวทางในการจัดทำแผนธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ
                            ดังนั้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจมีความรู้ความเข้าใจลักษณะของแผนธุรกิจที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจค้าปลีกหรือผู้ประกอบการ SMEs จะต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก ซึ่งแผนดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานในอนาคตของผู้บริหารรวมทั้งเป็นประโยชน์แก่สถาบันการเงินและนักลงทุนภายนอก ที่จะเป็นแหล่งเงินทุน ให้แก่กิจการในอนาคตได้ โดยปกติแผนธุรกิจ จะบอกให้เราทราบว่าปัจจุบันเราเดินอยู่ ตรงไหน อนาคตจะไปอยู่ที่ใด ด้วยวิธีการอย่างไรโดยทั่วไปจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
      1.   มีลักษณะน่าเชื่อถือและสามารถเป็นไปได้จริงในทางปฏิบัติ ซึ่งแผนธุรกิจที่ดีจะทำให้ผู้ร่วมลงทุนหรือผู้ให้กู้มีความเชื่อใจว่า ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกรายใหม่ สามารถทำให้ความคิดตามแผนที่วางไว้เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
      2.   แสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญของผู้ประกอบการค้าปลีกขนาดย่อม  การที่ผู้ประกอบการมีพื้นความรู้ด้านการค้าปลีก  มีเชี่ยวชาญมีความชำนาญเฉพาะด้าน ความสมบูรณ์ครบถ้วนของแผนธุรกิจ      จะเป็นตัวสะท้อนให้เห็นว่า ผู้ประกอบการค้าปลีก  มีความสามารถ และความตั้งใจจริง  เพราะถ้าแผนขอกู้ยังไม่มีคุณภาพขาดความความสมบูรณ์ครบถ้วน ย่อมคาดหวังไม่ได้กับประสิทธิผลของการประกอบการธุรกิจค้าปลีก
       3.  มีลักษณะเฉพาะตัว   ที่ชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างจากแนวความคิดเดิมที่ผ่านมาทำให้แผนมีลักษณะเด่นและควรสร้างความน่าเชื่อถือโดยมีข้อมูลหรือสารสนเทศพร้อมอ้างอิง
       4.  สามารถสะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีการวางแผนการณ์ดำเนินงานมาอย่างดี แผนจะบอกถึงระดับความเตรียมพร้อมในธุรกิจที่จะลงทุน และชี้ให้เห็นว่า ผู้ประกอบการ มีความรู้เท่าทันในธุรกิจนั้นๆ ได้ดีเพียงใด   ถ้ามีระดับการเตรียมพร้อมตลอดจนแผนเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน ยิ่งทำให้ผู้ร่วมลงทุน หรือผู้ให้กู้รู้สึกเสี่ยงน้อยลงเท่านั้น
      5. 
แสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีความมุ่งมั่น มีวิสัยทัศน์ คือเป็นผู้เล็งการณ์ไกล และมีวิธีจะจัดการกับสิ่งท้าทายในอนาคต     
- See more at: http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=1173&pageid=4&read=true&count=true#sthash.NemiLUSX.dpuf

ธุรกิจ : เกริ่นนำ แผนธุรกิจ

ธุรกิจ : เกริ่นนำ แผนธุรกิจ 


การเดินทางของมนุษย์ย่อมมีทิศทางที่จะดำเนินไปเพื่อถึงจุดหมายให้สำเร็จ  ธุรกิจก็เช่นกันต้องมีการดำเนินไปเพื่อจุดหมาย  แต่ละธุรกิจย่อมมีวิธีการดำเนินไปแตกต่างกันออกไป  ด้วยเหตุนี้เอง  จึงเกิดแผนธุรกิจขึ้นเพื่อเปลี่ยนความคิดของผู้ประกอบการค้าปลีกขนาดย่อมออกมาเป็น  รูปธรรม  นามธรรม
                            แผนธุรกิจ  คือเอกสารที่ผู้ต้องการทำธุรกิจเขียนขึ้นจากการผสมผสานความคิด  ทรัพยากรทั้งภายในและภายนอกที่ผู้ต้องการทำธุรกิจมี เป็นเสมือนหนึ่งแนวทางสําคัญสําหรับผู้ประกอบธุรกิจที่ริเริ่มก่อตั้งกิจการธุรกิจใหม่ และผู้ประกอบธุรกิจที่กําลังจะขยายกิจการ      ที่มีความประสงคจะขอกู้เงินจากสถาบันการเงินหรือหาผู้ร่วมลงทุน    โดยแผนธุรกิจจะช่วยประกอบการตัดสินใจและกำหนดแนวทางธุรกิจให้มีเป้าหมายทิศทางชัดเจน เวลาและทรัพยากรที่ต้องใช้ตลอดจนแผนสำรอง หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด
                            ถ้าเปรียบแผนธุรกิจเป็นแผนที่ในการบอกรายละเอียดในการเดินทาง  เป้าหมายที่ตั้งไว ก็คือปลายทางนั่นเอง
                            สำหรับแผนธุรกิจนี้คือการถ่ายทอดแนวความคิดทางธุรกิจของผู้จัดทำหรือผู้ประกอบการให้เป็นจริงกล่าวคือเป็นรูปธรรม  นามธรรม  เป็นผลรวม แห่งกระบวน การคิดพิจารณา การวางแผน  การควบคุม รวมทั้งการตัดสินใจ ของผู้ประกอบการสามารถใช้เพื่อกำหนดขั้นตอนและทิศทางการดำเนินธุรกิจอย่างมีแบบแผนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่นผลกำไรหรือความมั่งคั่งสูงสุดของผู้ประกอบการออกมาเป็น โอกาสทางธุรกิจ แผนธุรกิจจะช่วยชี้แนะ ขั้นตอนต่าง ๆ ทีละขั้นตอนอย่างเป็นระบบโดยเริ่มตั้งแต่ก่อตั้งกิจการจนกระทั่งการดำเนินกิจการบรรลุถึงเป้าหมาย แผนธุรกิจจะให้รายละเอียดต่างๆ ทั้งในเรื่องการตลาด การผลิต การแข่งขัน กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ การพยากรณ์ การเงินตลอดจนการจัดการ ที่จะเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการไปสู่ความสำเร็จ หรือชี้ให้เห็นถึง จุดอ่อนและข้อควรระวัง
                           หรืออาจกล่าวอีกแง่มุมหนึ่งได้ว่าแผนธุรกิจเปรียบเหมือน พิมพ์เขียวของแผนที่เดินทางของธุรกิจ ที่จะบอกว่าปัจจุบันการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างไรสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจมีอิทธิพลมากน้อยเพียงใด มีวิธีการใดในการดำเนินการทางธุรกิจเพื่อก้าวหน้าไปสู่อนาคตได้  ตลอดจนความต้องการอยู่ในตำแหน่งใดของธุรกิจ  เช่นเป็นผู้นำตลาด    
                            ผู้ประกอบการค้าปลีกไม่ควรจะละเลยการทำแผนธุรกิจเพราะแผนธุรกิจจัดทำเพื่อแสดงรายละเอียดของธุรกิจที่กำลังดำเนินการอยู่และทิศทางที่จะดำเนินไปในอนาคตรวมถึงวิธีการที่จะดำเนินไปสู่จุดหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
                            การประกอบธุรกิจค้าปลีกหากเริ่มต้นอย่างไม่มีการเตรียมการอย่างมีประสิทธิภาพ   หรือไม่ถูกหลักการแล้วมีแนวโน้มจะประสบความล้มเหลว
                           ดังนั้นแผนธุรกิจจึงเป็นเครื่องมือสำหรับการเตรียมตัวก่อนออกเดินทางของธุรกิจ ณ จุดที่ธุรกิจเป็นอยู่ ไปสู่อนาคตที่มีเป้าหมายและภายในระยะเวลาที่คาดหวัง โดยมีความชัดเจน ทั้งทิศทาง เป้าหมาย เวลา และทรัพยากรที่ต้องใช้ ตลอดจนแผนสำรอง หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น        ก่อนการจัดทำแผนธุรกิจผู้ประกอบการควรมีการขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น  นักกฎหมาย  นักบัญชี  นักการตลาด  หรือหาความรู้จากสื่ออินเตอร์เน็ตด้วยความรอบครอบมากที่สุดเพราะ แผนธุรกิจเป็นการคาดการถึงอนาคตของการดำเนินธุรกิจ  ซึ่งจะต้องดำเนินไปอย่างมีขั้นตอนมีระบบแบบแผนที่ดีซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจสามารถตัดสินใจในเรื่องความคุ้มค่าในการลงทุน อีกทั้งสถาบันการเงินยังใช้ในการประกอบการตัดสินใจในการอนุมัติให้สินเชื่อ  และการกำหนดเงื่อนไขในการให้กู้ยืมอีกด้วย
                            เพราะฉะนั้นจึงสรุปได้ว่า  แผนธุรกิจเป็นสิ่งแรกที่จะต้องคิดวางแผนขั้นตอนอย่างเป็นระบบ  มีแบบแผนการดำเนินงานอย่างชัดเจนถูกต้องและมีหลักการ  ที่สำคัญที่สุดจะต้องมีความเป็นไปได้ของผลการดำเนินงานตรงกับเป้าหมายที่วางไว้ไม่เช่นนั้นแล้วหากไม่มีการเตรียมการอย่างมีประสิทธิภาพ   ธุรกิจนั้นต้องประสบความล้มเหลว
- See more at: http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?bookID=1173&pageid=1&read=true&count=true#sthash.LefSmxxM.dpuf

ธุรกิจ : วัตถุประสงค์ในการจัดทำแผนธุรกิจ

วัตถุประสงค์ในการจัดทำแผนธุรกิจ

วัตถุประสงค์ในการจัดทำแผนธุรกิจ

      1.  เพื่อเตรียมพร้อมในการดำเนินงาน
      2.  เพื่อเป็นแนวทางธุรกิจให้ผู้กู้ หรือ ผู้ร่วมทุนสามารถขอกู้เงิน หรือระดมทุนมาลงทุนเพื่อประกอบธุรกิจที่ต้องการจะทำ
      3.  เพื่อลดความเสี่ยงในการดำเนินการธุรกิจอค้าปลีกขนาดย่อมเพราะ   เป็นการวางแผนล่วงหน้าออกมาในรูปของการจัดทำแผนธุรกิจ   และมีแผนสำรองเพื่อลดความเสี่ยงทางธุรกิจที่เกิดจากปัจจัยภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้                                                                                                                                                     
       4.   เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมมีการลำดับความคิด การเตรียมความพร้อมเพื่อเริ่มประกอบการค้าปลีกขนาดย่อม
                            ธนาคารและสถาบันการเงินจะพิจารณาแผนธุรกิจของผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อม  ที่เสนอ  เพื่อตัดสินใจว่าจะให้การสนับสนุนด้านแหล่งเงินทุน   แผนธุรกิจจะเป็นเสมือนเครื่องมือในการสื่อความหมายว่าผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมมีความตั้งใจและ ต้องการความสำเร็จในการดำเนินการ ดังนั้นการเขียนแผนธุรกิจควรมีหลักเกณฑ์พื้นฐานของการจัดทำแผนธุรกิจ  โดยยึดรูปแบบสากล นอกจากนี้  แผนธุรกิจจะแสดงวิธีการสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย
                            อนึ่งในการเขียนแผนธุรกิจ  ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมต้องตระหนักอยู่เสมอว่า  เมื่อเขียนแผนธุรกิจเสร็จ  แผนดังกล่าวจะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับธนาคารและสถาบันการเงิน รวมทั้งผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับธุรกิจ ให้มีความรู้สึกว่าผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมจะประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนโดยมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอเพื่อเตรียมรับกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทั้งภายใน และภายนอกที่อาจเกิดขึ้นกับธุรกิจโดยไม่คาดคิดมาก่อน  ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมทำได้โดยวิเคราะห์อุปสงค์ที่อาจเปลี่ยนแปลงความยืดหยุ่นอันเนื่องมาจากปัจจัยภายนอก เช่น มีสินค้าทดแทนเกิดขึ้น  รสนิยม พฤติกรรมการบริโภคของลูกค้า จะต้องทำการวิจัยหาความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา ในปัจจุบันมีหน่วยงานของรัฐคอยให้การสนับสนุนข้อมูลต่างๆ โดยไม่ต้องทำการวิจัยทำให้ผู้ประกอบการค้าปลีกขนาดย่อมประหยัดเรื่องค่าใช้จ่ายเรื่องนี้ได้อีกด้วย 
- See more at: http://www.tpa.or.th/writer/read_this_book_topic.php?pageid=3&bookID=1173&read=true&count=true#sthash.zK6SQZD0.dpuf

ธุรกิจ : แผนธุรกิจคือ ? ลักษณะของแผนธุรกิจที่ดีต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง ?

ธุรกิจ : แผนธุรกิจคือ ? ลักษณะของแผนธุรกิจที่ดีต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง ?


แผนธุรกิจ คืออะไร ?

แผนธุรกิจ หรือ Business Plan คือแผนการดำเนินงานของธุรกิจ หรือโครงการหนึ่งๆ ที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจทั้งในระยะสั้น 1 – 3 ปี และในระยะยาว 3 – 5 ปี อันประกอบไปด้วยการวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อธุรกิจทั้งทางด้านมหภาค (Macro Analysis) และจุลภาค (Micro Analysis) การวิเคราะห์ธุรกิจของโครงการในแง่มุมต่างๆ ทั้งทางด้านการตลาด ทางด้านการดำเนินงาน ทีมผู้บริหาร และทางด้านการเงิน เพื่อเป็นการประเมินความเป็นไปได้ของโครงการ และเป็นกรอบในการดำเนินธุรกิจ แนวทางการพัฒนาธุรกิจในอนาคต

ทำไมต้องมีแผนธุรกิจ ?

การเขียนแผนธุรกิจ เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งและเป็นมาตรฐานในการทำธุรกิจสมัยใหม่ไปแล้วก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นการขอกู้เงินหรือการขอสินเชื่อจากธนาคารเพื่อนำเงินมาลงทุน การขอเงินจาก Venture Capital หรือการใช้เงินลงทุนของตนเองก็ดี เนื่องจากจะทำให้เจ้าของกิจการ ผู้ร่วมธุรกิจ หรือธนาคารได้เห็นภาพรวมของโครงการ รวมถึงการประเมินความเป็นไปได้ของโครงการต่างๆ ว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด จะให้ผลคุ้มทุนเมื่อใด มีความสามารถในการชำระหนี้หรือไม่ ก่อนที่จะเริ่มต้นลงทุนในโครงการนั้นๆ จริง โดยแผนธุรกิจนอกจากจะเป็นการประเมินความเป็นไปได้ของโครงการแล้ว ยังเป็นแผนงานและแผนควบคุมการดำเนินงานของบริษัทได้อีกทางหนึ่งด้วย

ลักษณะของแผนธุรกิจที่ดีต้องประกอบด้วยอะไรบ้าง ?

แผนธุรกิจที่ดีต้องประกอบด้วยส่วนสำคัญดังต่อไปนี้
  1. บทสรุปผู้บริหาร (Executive Summary) เพื่อให้ผู้บริหารหรือผู้พิจารณาแผน ได้ทราบภาพรวมทั้งหมดของโครงการ และผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน
  2. โครงสร้างอุตสาหกรรมของบริษัท (Industry Analysis) บอกถึงภาพรวมของอุตสาหกรรมของโครงการ วิสัยทัศน์ ภารกิจ และวัตถุประสงค์ของโครงการ
  3. การวิเคราะห์ตลาด (Marketing Analysis) เป็นการวิเคราะห์ถึงปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน สภาพการแข่งขันในตลาด การกำหนดตลาดเป้าหมาย การวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ พฤติกรรมผู้บริโภค และการประมาณการยอดขายสินค้าและบริการ
  4. แผนการตลาด (Marketing Plan) การกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด ทั้งทางด้านสินค้าและบริการ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การสื่อสารทางการตลาด การบริหารการขาย และการรับประกันสินค้าและบริการ
  5. แผนการพัฒนาในอนาคต (Improvement Plan) แผนงานการพัฒนาสินค้าและบริการของบริษัทในอนาคต
  6. แผนการปฏิบัติงาน (Operation Plan) กลยุทธ์การดำเนินงาน สถานที่ตั้ง แผนการดำเนินงาน
  7. โครงสร้างองค์กร (Organization Plan) แผนผังองค์กร ทีมงานหลักในการบริหาร และหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆ
  8. ความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ (Business Profit) นโยบายทางการเงิน สมมติฐานการเงิน งบกำไรขาดทุน งบดุล งบกระแสเงินสด เงินลงทุนและผลตอบแทน อัตราส่วนทางการเงิน การวิเคราะห์ความอ่อนไหวของผลการดำเนินงาน การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน
  9. แผนการดำเนินงาน (Gantt Chart) แผนภาพระยะเวลาของการดำเนินงานในช่วงเวลาต่างๆ (Time Frame)
  10. แผนการควบคุม (Controlling Plan) แผนควบคุมการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้
  11. แผนฉุกเฉิน (Emergency Plan) แผนสำรองหากการดำเนินงานไม่เป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้ หรือแผนการแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต
ที่มา smesmart